วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่14)


คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่14)
1.วงจรตัวต้านทาน (Resistor Circuit)...คือการต่อตัวต้านทานแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปวงจร สามารถจัดวงจรตัวต้านทานได้ 3 แบบ คือ วงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวต้านทานแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจร

2. วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม (Series Resistor Circuit)...เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไปชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวต้านทานที่นำนำมาต่อเพิ่ม

3.วงจรตัวต้านทานแบบขนาน (Parallel Resistor Circuit)...เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อคร่อมร่วมกัน 2 จุด การต่อต้วต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรลดลง ได้ค่าความต้านทานรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความต้านทานของตัวต้านทานตัวที่น้อยที่สุดในวงจร

4.วงจรตัวต้านทานแบบผสม (Compound Resistor Circuit)...เป็นการต่อตัวต้านทานร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวต้านทานแบบผสมไม่มีมาตรฐานตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความต้านทานรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

5. วงจรตัวเก็บประจุ (Capaciter Circuit) ...คือการต่อตัวเก็บประจุแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเก็บประจุได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเก็บประจุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกัน

6.วงจรตัวเก็บประจุแบบอนุกรม (Series Capacitor Circuit)...เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ มีผลให้ฉนวนของตัวเก็บประจุมีความหนามากขึ้น แผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่นหัวท้ายของตัวเก็บประจุรวมห่างกัน มีผลให้ค่าความจุรวมของตัวเก็บประจุลดลง ค่าความจุรวมที่ได้มีค่าน้อยกว่าค่าความจุตัวที่น้อยที่สุดในวงจร

7.วงจรตัวเก็บประจุแบบขนาน (Parallel Capacitor Circuit)...เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีุจุดต่อร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ เป็นการเพิ่มพื้นที่ของแผ่นโลหะตัวนำในตัวเก็บประจุรวมทำให้ค่าความจุของตัวเก็บประจุรวมเพิ่มขึ้น ค่าความจุรวมของวงจรหาได้จากผลบวกของค่าความจุในตัวเก็บประจุทุกตัวรวมกัน

8. วงจรตัวเก็บประจุแบบผสม (Compound Capacitor Circuit) ...เป็นการต่อตัวเก็บประจุร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเก็บประจุแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความจุรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและการต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

9.วงจรตัวเหนี่ยวนำ (Inductor Circuit)...คือการต่อตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเหนี่ยวนำได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเหนี่ยวนำแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกัน

10. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบอนุกรม (Series Inductor Circuit)...เป็นการนำตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดตัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ การต่อเหนี่ยวนำแบบนี้ ทำให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวเหนี่ยวนำที่นำมาต่อเพิ่ม การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมในวงจรแบบอนุกรม

11. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบขนาน (Parallel Inductor Circuit)...เป็นการนำตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบนี้ ทำให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจรลดลง ให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความเหนี่ยวของตัวเหนี่ยวนำตัวที่มีค่าน้อยสุดในวงจร การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมแบบขนาน

12. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบผสม (Compound Inductor Circuit)...เป็นการต่อตัวเหนี่ยวนำร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรม และต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

13. แผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Boards)...หรือแผนปริ๊นต์ เป็นแผ่นพลาสติกที่ผิวด้านหนึ่งถูกเคลือบด้วยแผ่นทองแดงบาง เพื่อใช้ทำลายวงจรพิมพ์ (Printed Circuit) ทำให้เกิดเป็นวงจรต่างๆ ตามต้องการ

14.ลายวงจรพิมพ์(Printed Circuit )...ลายวงจรมีส่วนสำคัญต่อการใช้งาน เพราะการเขียนลายวงจรจะต้องคำนึงถึงของลายวงจร ให้เหมาะสมกับขนาดของกระแสที่ไหลผ่าน ลักษณะการเชื่อมต่อต้องเหมาะสมสวยงาม ถูกต้องตามหลักการ ขนาดของลายวงจรต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป การเข้าโค้งลายวงจรควรต่อเข้ากึ่งกลางจุด ไม่ควรผ่านของริมจุดต่อ หรือกรณีจำเป็นต้องผ่านขอบริมจุดต่อลายวงจรจะต้องสัมผัสจุดต่อให้มากที่สุด ลักษณะลายวงจรพิมพ์และจุดต่อที่ถูกและผิด

15.วงจรสคีมเมติก(Schematic Circuit)...

16.ตะกั่วบัดกรี (Solder)...คือวัสดุที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานรอยต่อของสายไฟหรือขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน หรือต่ออุปกร์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับลายวงจรพิมพ์ ส่วนประกอบของตะกั่วบัดกรีประกอบด้วยดีบอก (Tin) และตะกั่ว (Lead) ซึ่งมีส่วนผสมของสารทั้งสองแตกต่างกัน ถูกกำหนดออกมาเป็นเปอร์เซ็น ค่าที่บอกไว้ค่าแรกเป็นดีบุกเสมอ เช่น 70/30 หมายถึง ส่วนผสมประกอบด้วยดีบุก 70% และตะกั่ว 30% บางครั้งอาจเรียกเฉพาะค่าดีเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นส่วนผสม 70/30 อาจเรียกว่าตะกั่วบัดกรีชนิดดีบุก 70%

17.ดีบุก ( Tin)...คือ
ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum) ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี หลอมเหลวได้ง่าย ทนต่อการกัดกร่อน และถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite)

18.ตะกั่ว (Lead)...เป็น
ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (ละติน: Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แบตเตอรี่ กระสุนปืน โลหะผสม

19.ฟลักซ์(Flux)...จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กที่ผ่านทะลุพื้นที่ผิวสมมติแผ่นหนึ่งในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กใช้สัญลักษณ์ f ในบริเวณที่มีผลักซ์แม่เหล็กหนาแน่นมาก เป็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กที่มีค่ามาก

20. หัวแร้ง (Soldering Iron)...ที่ใช้งานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหัวแร้งไฟฟ้า ทำหน้าที่ให้ความร้อนออกมาโดยใช้ไฟฟ้าจ่ายผ่านส่วนที่ทำให้กำเนิดความร้อน ส่งผ่านผ่านความร้อนไปยังหัวบัดกรี ส่วนหัวบัดกรีนี้เองเป็นตัวส่งผ่านความร้อนไปยังชิ้นงาน จนชิ้นงานเกิดความร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ การบัดกรีที่ถูกต้องนอกจากหัวแร้งต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้แล้ว ชิ้นงานที่จะบัดกรีก็ต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ด้วย ถ้าชิ้นงานขนาดเล็กสามารถใช้หัวแร้งมีกำลังไฟฟ้าต่ำได้ ถ้าชิ้นงานขนาดใหญ่หังแร้งต้องมีกำลังไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นอาจทำให้การบัดกรีไม่สมบูรณ์ได้

21.หัวแร้งปืน (Soldering Gun)...มีรูปร่างคล้ายปืน เป็นหัวแร้งที่เหมาะสมกับการบัดกรีงานขนาดใหญ่ ให้ความร้อนสูง การบัดกรีทำได้รวดเร็ว ไม่เหมาะสมกับการบัดกรีงานขนาดเล็ก การบัดกรีต้องระมัดระวังเรื่องความร้อนจะแผ่นไปถึงอุปกรณ์หรือชิ้นงาน เพราะอาจทำให้อุปกรณ์หรือชิ้นงานชำรุดเสียหายได้ การใช้งานทุกครั้งต้องกดไกสสวิตช์ค้างไว้ก่อนการใช้งานประมาณ 5 วินาที เพื่อให้ปลายหัวแร้งร้อนมากพอก่อนทำการบัดกรี ปลายหัวแร้งทำด้วยทองแดง และทองแดงเคลือบเหล็ก เช่นเดียวกับหัวแร้งแช่ แต่มีรูปร่างแตกต่างกัน

22.เครื่องดูดตะกั่ว(Solder Sucker)...


คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่13)

1.สารกึ่งตัวนำชนิดP(P-Type Semiconductor)...เป็นสารกึ่งตัวนำที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของอะลูมิเนียม ทำให้เกิดที่ว่างซึ่งเรียกว่า โฮล (Hole) ขึ้นในแขนร่วมของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนข้างโฮลจะเคลื่อนที่ไปอยู่ในโฮลทำให้ดูคล้ายกับโฮลเคลื่อนที่ได้จึงทำให้กระแสไหลได้

2.สารกึ่งตัวนำชนิดN(N-Type Semiconductor)...เป็นสารกึ่งตัวนำที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของสารหนู ทำให้มีอิเล็กตรอนเกินขึ้นมา 1 ตัว เรียกว่าอิเล็กตรอนอิสระซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในก้อนผลึกนั้นจึงยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลได้เช่นเดียวกับตัวนำทั่วไป

3.ไดโอด(Diode)...เป็นการนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น มาทำการต่อให้ติดกันตามหลักของวิชาฟิสิกส์ของแข็ง โดยไดโอดจะมีความต้านทานต่ำมาก และยอมให้กระแสไหลผ่านได้ เมื่อต่อให้ศักย์ไฟฟ้าที่ปลายพีสูงกว่าศักย์ไฟฟ้าที่ปลายเอ็น (ต่อปลายพีเข้ากับขั้วบวกและต่อปลายเอ็นเข้ากับขั้วลบ) หรือที่เรียกว่า ไบแอสตรง นั่นเอง แต่ถ้าเราต่อให้ที่ปลายพีมีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าปลายเอ็น (ไบแอสกลับ) ไดโอดจะมีความต้านทานสูงมาก และไม่ยอมให้กระแสไหลผ่าน

4.ดีพลีชันริจิน(Depletion Region)...การต่อชนสารกึ่งตัวนำทั้ง 3 ตอน ของทรานซิสเตอร์ ทำให้ระหว่างรอยต่อ PN แต่ละตอนเกิดค่าแบตเตอรี่สมมติหรือดีพลีชันริจิน ค่าดังกล่าวก็คือค่าความต้านทานตรงรอยต่อ ดีพลีชันริจินสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ ตามการจ่ายแรงดันไบอัสให้รอยต่อส่วนที่ถูกจ่ายไบอัสตรงค่าดีพลีชันริจินจะลดลง และรอยต่อส่วนที่ถูกจ่ายไบอัสกลับค่าดีพลีชันริจินจะเพิ่มขึ้น

5.แอโนด(Anode)...ถ้าขั้วนั้นเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น(จ่ายอิเล็คตรอน เช่น Zn -----> Zn2+ + 2e-)

6.แคโทด(Cathode)...ถ้าเกิดปฏิกิริยารีดักชั่น(รับอิเล็คตรอน เช่น Cu2+ + 2e- -----> Cu)

7.ไบอัสตรง(Forward Bias)...ให้ขา E เทียบกับขา B คือแงดันไบอัสที่ขาทั้งสองได้รับต้องไบอัสตรงทั้งคู่

8.ไบอัสกลับ(Reverse Bias)...ให้ขา C อาจเทียบกับขา B หรือเทียบกับขา E ก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการจัดวงจรขาร่วม ( Common Circuit ) ที่จัดวงจรให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน

9.ซีนเนอร์ไดโอด(Zener Diode)...เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown Voltage ; Vz) ซีเนอร์ไดโอดจะมีแรงดันไบอัสกลับ (Vr)น้อยกว่า Vz เล็กน้อย ไดโอดประเภทนี้เหมาะที่จะนำไปใช้ควบคุมแรงดันที่โหลดหรือวงจรที่ต้องการแรงดันคงที่ เช่น ประกอบอยู่ในแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง หรือโวลเทจเรกูเลเตอร์

10.ซีนเนอร์เบรกดาวน์(Zener Breakdown)...ระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งาน

11.แรงดันซีเนอร์ เบรกดาวน์(Zener Breakdown Voltage)...ระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้

12.ไดโอดเปล่งแสง(Light Emitting Diode)...LED เป็นไดโอดที่ใช้สารประเภทแกลเลี่ยมอาร์เซ็นไนต์ฟอสไฟต์ (Gallium Arsenide Phosphide ; GaAsP) หรือสารแกลเลี่ยมฟอสไฟต์ (Gallium Phosphide ; GaP) มาทำเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด p และ n แทนสาร Si และ Ge สารเหล่านี้มีคุณลักษณะพิเศษ คือ สามารถเรืองแสงได้เมื่อได้รับไบอัสตรง การเกิดแสงที่ตัว LED นี้เราเรียกว่า อิเล็กโทรลูมินิเซนต์ (Electroluminescence) ปัจจุบันนิยมใช้ LED แสดงผลในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคิดเลข,นาฬิกา เป็นต้น

13.แสงอินฟาเรด(Infrared Light)...

14.แสงที่ตาคนมองเห็น(Visible Light)... เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงซึ่งประสาทตาของมนุษย์สามารถสัมผัสได้ ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตร (1 เมตร = 1,000,000,000 นาโนเมตร) หากนำแท่งแก้วปริซึม (Prism) มาหักเหแสงอาทิตย์ เราจะเห็นว่าแสงสีขาวถูกหักเหออกเป็นสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง คล้ายกับสีของรุ้งกินน้ำ เรียกว่า “สเปคตรัม” (Spectrum) แสงแต่ละสีมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน สีม่วงมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด สีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด

15.แสงที่ตาคนมองไม่เห็น(Invisible Light)...เพราะเป็นแสงที่อยู่ในย่านแสงอินฟาเรด ซึ่งขณะเปล่งแสงออกมาตาคนจะมองไม่เห็น ไดโอดเปล่งแวงชนิดนี้เรียกว่า อินฟาเรดอิมิตติ้งไดโอด

16.ทรานซิสเตอร์(Transistor)...คือ สิ่งประดิษฐ์ทำจากสารกึ่งตัวนำมีสามขา (TRREE LEADS) กระแสหรือแรงเคลื่อน เพียงเล็กน้อยที่ขาหนึ่งจะควบคุมกระแสที่มีปริมาณมากที่ไหลผ่านขาทั้งสอง ข้างได้ หมายความว่าทรานซิสเตอร์เป็นทั้งเครื่องขยาย (AMPLIFIER) และสวิทซ์ทรานซิสเตอร์

17.ฟิลเอฟเฟคทรานซิสเตอร์(Field Effect Transistor)...เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําชนิดขั้วเดียว ( Unipolar ) มีลักษณะโครงสร้างและหลักการทํางานแตกต่างไปจากทรานซิสเตอร์เพราะทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําชนิดสองขั้ว การทํางานของทรานซิสเตอร์ต้องอาศัยกระแสช่วยควบคุมการทํางาน ทั้งกระแสอิเล็กตรอนและกระแสโฮลเฟตเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําอีกชนิดที่นิยมนํามาใช้งานในการขยายสัญญาณ และใช้งานในหน้าที่ต่าง ๆเช่นเดียวกับ ทรานซิสเตอร์นับวันเฟตยิ่งมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการนําไปใช้งาน
18.ขั้วเดียว(Unipolar)...
19.สองขั้ว(Bipolar)...
20.จังชันเฟต(Junction FET)...หรือเรียกง่ายๆว่า เจเฟต แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดพีแชนแนล และชนิดเอ็นแชนแนล

21.ดีพลีชันมอสเฟต(Depletion MOSFET)...หรือ D-MOSFET แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดPแชนแนล และชนิด Nแชลแนล

22.เอนฮานซ์เมนต์มอสเฟต(Enhancement MOSFET)...หรือ E-MOSFET แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดPแชนแนล และชนิด Nแชลแนล

23.ซิลิคอนไดออกไซต์(Silicon Dioxide)...24.คุณสมบัติ(Characteristics)...25.แชนแนล(Channel)...

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่12)

1.สวิตช์(Switch)...เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่พบการใช้งานได้บ่อย หน้าที่ของสวิตช์ คือ ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อให้มีการจ่ายแรงดันเข้าวงจร หรืองดจ่ายแรงดันเข้าวงจร จะมีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ต่อวงจร (Close Circuit) และไม่มีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ตัดวงจร (Open Circuit)

2.ต่อวงจร(Close Circuit)...กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งกำเนิด ผ่านไปตามสายไฟ แล้วผ่านสวิทช์ไฟซี่งแตะกันอยู่ (ภาษาพูดว่าเปิดไฟ) แล้วกระแสไฟฟ้าไหลต่อไปผ่านดวงไฟ แล้วไหลกลับมาที่แหล่งกำเนิดอีกจะเห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ครบวงจร หลอดไฟจึงติด

3.ตัดวงจร(Open Circuit)...วงจรเปิด ไฟจะไม่ติดเพราะว่า ไฟออกจากแหล่งกำเนิดก็จะไหลไปตาม สายพอไปถึงสวิทช์ซึ่งเปิดห่างออกจากกัน (ภาษาพูดว่าปิดสวิทช์) ไฟฟ้าก็จะผ่านไปไม่ได้ กระแสไฟฟ้าไม่สามารถจะไหลผ่านให้ครบวงจรได้

4.1ขั้ว1ทาง(SPST->Single-Pole Single-Throw)...ทำหน้าที่ปิด-เปิดวงจร

5.1ขั้ว2ทาง(SPDT->Single-Pole Double-Throw)...ทำหน้าที่เปิ-ปิดวงจร ได้ 2 ชุดพร้อมกัน

6.2ขั้ว1ทาง(DPST->Double-Pole Single-Throw)...ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจร การใช้ขา 2 ขาหรือจะใช้เป็นสวิตช์เลือก 2 ทาง

7.2ขั้ว2ทาง(DPDT->Double-Pole Double-Throw)...ทำหน้าที่เปิ-ปิดวงจร ได้ 2 ชุดพร้อมกันโดยใช้ขา 4 ขาและสามารถใช้แทนสวิตช์แบบทางเดียว 2 ขั้วได้

8.สวิตช์ก้านยาว(Toggle Switch)...เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องโยกก้านสวิตช์ไปมาโดยมีก้านสวิตช์โยกยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์ การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยโยกก้านสวิตช์ให้ขึ้นบนหรือลงล่าง ในการโยกก้านสวิตช์ขึ้นมักจะเป็นการต่อ (ON) และโยกก้านสวิตช์ลงมักจะเป็นการตัด (OFF)

9.สวิตช์กระดก(Rocker Switch)...เป็นสวิตช์ที่มีปุ่มกระดกยื่นออกมาจากตัวสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดผลักขึ้นบนหรือล่าง กดผลักด้านบนจะเป็นการต่อ (ON) กดผลักด้านล้างจะเป็นการตัด (OFF)

10.สวิตช์กด(Push Button Switch)...เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องกดปุ่มสวิตช์ลงไป การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ต้องกดปุ่มที่อยู่ส่วนกลางสวิตช์ กดปุ่มสวิตช์หนึ่งครั้งสวิตช์ต่อ (ON) และเมื่อกดปุ่มสวิตช์อีกหนึ่งครั้งสวิตช์ตัด (OFF) การทำงานเป็นเช่นนี้ตลอดเวลา แต่สวิตช์แบบกดบางแบบอาจเป็นชนิดกดติดปล่อยดับ (Momentary) คือขณะกดปุ่มสวิตช์เป็นการต่อ (ON) เมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มสวิตช์เป็นการตัด (OFF) ทันที

11.สวิตช์เลื่อน(Slide Switch)...เป็นสวิตช์ที่ต้องเลื่อนก้านสวิตช์ไปมา ก้านสวิตช์ยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยผลักเลื่อนสวิตช์ขึ้นบนหรือลงล่าง การเลื่อนสวิตช์ขึ้นบนเป็นการต่อ (ON) การเลื่อนสวิตช์ลงล่างเป็นการตัด (OFF)

12.สวิตช์หมุน(Rotary Switch)...หรือเรียกว่าสวิตช์แบบเลือกค่า (Selector Switch) เป็นสวิตช์ที่ต้องหมุนก้านสวิตช์ไปโดยรอบเป็นวงกลม สามารถเลือกตำแหน่งการตัดต่อได้หลายตำแหน่ง มีหน้าสัมผัสสวิตช์ให้เลือกต่อมากหลายตำแหน่ง เช่น 2, 3, 4 หรือ 5 ตำแหน่ง เป็นต้น

13.สวิตช์ดิพ(DIP Switch)...คำว่าดิพ (DIP) มาจากคำเต็มว่าดูอัลอินไลน์แพกเกจ (Dual Inline Package) เป็นสวิตช์ขนาดเล็กใช้งานร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นในรูปชิพ (Chip) ที่มีขนาดเล็กๆ หรือใช้งานกับไอซี (IC = Integrated Circuit) ลักษณะสวิตช์สามารถตัดหรือต่อวงจรได้ การควบคุมตัดต่อสวิตช์แบบดิพจะต้องใช้ปลายมปากกาหรือปลายดินสอในการปรับเลื่อนสวิตช์ สวิตช์แบบดิพมักถูกติดตั้งบนแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Cricuit Board) ใช้กับกระแสไม่เกิน 30mA ที่แรงดัน 30VDC

14.สวิตช์เลือกค่า(Selector Switch)...มีใช้มากในงานที่ต้องควบคุมการทำงานด้วยมือ แสดงตัวอย่างของสวิตช์เลือกแบบ 3 ตำแหน่ง และตารางแสดงการทำงานของสวิตช์เลือกเครื่องหมาย X ในตารางแทนด้วยหน้าสัมผัสปิด สวิตช์เลือกมี 3 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งหยุด (off) ตำแหน่งมือ (hand ) และ ตำแหน่งออโต (automatic)ในตำแหน่งหยุดหน้าสัมผัสทุกอันจะปิดหมด (ลูกศรชี้) ส่วนในตำแหน่งมือหน้าสัมผัส A1 จะปิด หน้าสัมผัส A2 จะเปิด และในตำแหน่งออโตหน้าสัมผัส A2 จะปิดหน้าสัมผัส A1 จะเปิด

15.ไมโครสวิตช์(Microswitch)...คือสวิตช์แบบกดชนิดกดติดปล่อยดับนั่นเอง แต่เป็นสวิตช์ที่สามารถใช้แรงจำนวนน้อยๆ กดปุ่มสวิตช์ได ก้านสวิตช์แบบไมโครสวิตช์มีด้วยกันหลายแบบ อาจเป็นปุ่มกดเฉยๆ หรืออาจมีก้านแบบโยกได้มากดปุ่มสวิตช์อีกทีหนึ่ง การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดปุ่มสวิตช์หรือกดก้านคันโยกเป็นการต่อ (ON) และเมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มหรือก้านคันโยกเป็นการตัด (OFF)

16.รีเลย์(Relay)... รีเลย์เป็นสวิตช์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Swich) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือเปิดวงจรการทำงานจะดึงหน้าสัมผัสเข้าหาหรือให้หนีออกจากอีกข้างหนึ่ง ดังแสดงในรูปแสดงสัญลักษณ์และรูปลักษณะของรีเลย์ โดยในรูป (ก) แสดงรีเลย์แบบปกติเปิด (Normally Open Relay, NO) ส่วนรูป (ข) เป็นรีเลย์แบบปกติปิด (Normally Closed Relay, NC)

17.กลไก(Mechanical)...

18.สวิตช์หน้าสัมผัส(Contact Switch)...เพราะใช้ IC Timer 555(ไอซีนิยมใช้กันมาก) โดยมันเป็นวงจรง่ายๆ เมื่อpin 2 ของ IC 555 ต่อกับแผ่นโลหะ แล้วท่านแตะโดนแผ่นโลหะนั้น ก็จะทำให้ LED สว่างนานประมาณ 1 วินาที โดยวงจรนี้ จะใช้งานได้ดีในบ้าน ซึ่งไม่ถูกรบกวนจากสัญญาณวิทยุอื่นๆ ก็นับว่าเป็นวงจรที่น่าสนุกดี หรือ ท่านจะประยุกต์ใช้เป็นวงจรกันขโมยก็ได้

19.ปกติเปิด (NO->Normal Open)...คือสวิทช์ขาปกติวงจรเปิด (ปกติกระแสไฟไม่เดิน)

20.ปกติปิด(NC->Normal Close)...คือสวิทช์ขาปกติวงจรปิด (ปกติกระแสไฟเดิน)

21.ไมโครโฟน(Microphone)...ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่สร้างจากขดลวดเคลื่อนที่ โดยการทำงานจะอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Induction) เพื่อที่จะเปลี่ยนคลื่นเสียงไปเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า จากที่ทราบว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นเกิดจากการเคลื่อนที่ของคลื่นความดันผ่านอากาศ ซึ่งการที่จะให้เกิดคลื่นความดันในลักษณะเช่นนี้ สามารถทำได้โดยใช้เส้นเชือกที่ขึงให้ตึง ผิวเนื้อเยื่อแผ่นบางๆ หรืออาจเป็นกล่องเสียงในลำคอของมนุษย์ และทำให้สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เกิดการสั่นซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอัดหรือขยายของโมเลกุลอากาศ ดังแสดงในรูป เป็นตัวอย่างของการทำให้เส้นเชือกที่ถูกขึงให้ตึงเกิดการสั่นกลับไปกลับมา ผลของการสั่นจะทำให้เกิดย่านความดันอากาศสูงสุด

22.เฮิร์ต(Hertz)...หน่วยของความถี่

23.ไดนามิกไมโครโฟน(Dynamic Microphone)...เป็นไมโครโฟนที่ใช้กันทั่วไปในงานระบบเสียงปัจจุบันนี้ มีลักษณะการทำงานกลับกับการทำงานของลำโพง เมื่อมีเสียงมากระทบที่ไดอะแฟรม (Diaphragm) ทำให้เกิดการสั่นและเคลื่อนไหวเข้าออกของมูฟวิ่งคอยล์ที่พันอยู่รอบๆ กรวยไดอะแฟรมจึงเกิดการตัดกันของสนามแม่เหล็ก และเกิดการเหนี่ยวนำกลายเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กส่งออกมาตามขดลวด ขนาดความแรงของสัญญาณไฟฟ้าและทิศทางขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของขดลวดไดนามิกไมโครโฟนมีความแข็งแรงทนทานสูง ราคาไม่แพงและเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้มีการใช้ไดนามิกไมโครโฟนกันมากในระบบเสียงงานเวที หรือในงานระบบเสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานอคูสติกสูงและบ่อยครั้ง ไดนามิกไมโครโฟนยังมีความคงทนต่อองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นอุณหภูมิ และสภาพแสงแดดได้อย่างดี

24.คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน(Condencer Microphone)...คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ต้องมีไฟเลี้ยงจ่ายให้อยู่ตลอดเวลาที่มีการใช้งานซึ่งอยู่ระหว่าง 9-48 โวลท์ที่มาจากแบตเตอรี่ที่บรรจุเข้าไปในตัวไมโครโฟน หรือจาก มิกเซอร์โดยผ่านทางสายไมโครโฟน หลัการทำงานคือเมื่อมีการเคลื่อนไหวเข้าใกล้และห่างออกจากกันระหว่างไดอะแฟรมกับแบคเพรท (Back plate) โดยแบคเพรทจะอยู่กับที่และส่วนที่เป็นไดอะแฟรมจะเคลื่อนไหวตามเสียงที่เข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้าและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นซึ่งมีขนาดเล็กมาก ซึ่งจะถูกนำไปขยายโดยภาคขยายเล็กๆ ซึ่งซ่อนอยู่เพื่อขยายสัญญาณและเพื่อแยกค่าอิมพีเด้นของไมโครโฟนออกจากค่าอิมพีเด้นที่ต่ำที่ตัวไมโครโฟนต่ออยู่คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนมีคุณสมบัติทางเสียงที่ดีเหมือนธรรมชาติ ใช้กับงานที่ต้องการการตอบสนองทาง Transient เช่น เครื่องดนตรีที่เป็นพวก Percussion และนิยมใช้กันมากในห้องบันทึกเสียง และงานทั่วไป ความทนทานจะสู้ไดนามิกไมโครโฟนไม่ได้ ไวต่อการเสียหายเมือมีการกระแทกของเสียง การกระทบกระเทือนอย่างแรง และสภาพแวดล้อม เช่นความชื้น ราคาจะสูงกว่าไดนามิกไมโครโฟน

25.ลำโพง(Loundspeaker)...ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี ให้เราได้ยินผ่านทางวิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น ลำโพงโดยทั่วไปจะเป็นแบบแม่เหล็กถาวร นั่นคือ การทำงานจะอาศัยหลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ลำโพงที่พบกันโดยทั่วไปจะถูกสร้างจากแม่เหล็กถาวรทำงานร่วมกับแม่เหล็กไฟฟ้า ดังแสดงในรูป (ก) โดยที่บริเวณฐานของตัวลำโพงจะประกอบไปด้วยไดอะแฟรมซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแผ่นกระดาษบางๆ ยึดติดอยู่กับกระบอกลวงและมีขดลวดพันอยู่รอบๆ ซึ่งจะใช้เป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้เกิดขึ้น ซึ่งการจัดลักษณะแบบนี้เป็นการให้ขั้วแม่เหล็กถาวรขั้วหนึ่งปรากฏอยู่ภายในกระบอกกลวงที่มีขดลวดพันอยู่รอบๆ นี้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในทิศทางหนึ่ง จะทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาต่อกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวร กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ส่งผลให้ตัวกระบอกเคลื่อนที่ไปทางด้านขวา ดังแสดงในรูป (ข) แต่ถ้าในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในทิศทางตรงกันข้ามกับตอนแรกก็จะมีผลให้ตัวกระบอกเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้าย ดังแสดงในรูป (ค) การเคลื่อนที่ของกระบอกกลวงที่ถูกพันด้วยขดลวดนี้จะทำให้ไดอะแฟรมซึ่งสามารถยืดหดได้เกิดการเคลื่อนที่เข้าออก โดยทิศทางของการเคลื่อนที่จะขึ้นอยู่กับทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าไปในขดลวด สำหรับปริมาณของกระแสไฟฟ้านั้นจะเป็นตัวกำหนดความเข้ม ของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ซึ่งก็หมายถึงการควบคุมการเคลื่อนที่ของไดอะแฟรมนั่นเอง

26.ลำโพงฮอร์น(Horn Speaker)...เป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่ใช้ในการกระจายเสียงทั่วไป มีโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้าเรียกว่า ฮอร์น(Horn) มีลักษณะเป็นกรวยโลหะปากกว้าง หรือเรียกกันทั่วๆไปว่า ดอกลำโพง ส่วนหลังเรียกว่า ไดรเวอร์ยูนิต(Driver Unit) เป็นส่วนที่ประกอบด้วยแม่เหล็กถาวร และขดลวดเสียง ซึ่งพันอยู่บนแผ่นไดอะเฟรม มีขนาดอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม และ 16 โอห์ม ลำโพงฮอร์นให้เสียงในระดับปานกลางแต่สามารถไปได้ไกล จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งนอกสถานที่

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่11)

1.ตัวเหนี่ยวนำ(Inductor)...ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้งานกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณปลายนิ้วมือจนกระทั่งถึงขนาดใหญ่เท่าห้องปฏิบัติการ ลักษณะของตัวเหนี่ยวนำจะเป็นการนำเอาลวดตัวนำมาพันเรียงกันเป็นขดลวด อาจมีจำนวนรอบไม่กี่รอบจนกระทั่งถึงพันรอบแล้วแต่ค่าความเหนี่ยวนำที่ต้องการใช้งาน การพันขดลวดของตัวเหนี่ยวนำอาจพันบนแกนชนิดต่าง ๆ หรือเป็นแบบไม่มีแกน (แกนอากาศ) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

2.ความเหนี่ยวนำ(Inductance)...การพันจำนวนรอบของตัวเหนี่ยวนำมีผลต่อความเหนี่ยวนำ (Inductance) ในตัวเหนี่ยวนำนั้น พันจำนวนรอบน้อยความเหนี่ยวนำน้อย พันจำนวนรอบมากความเหนี่ยวนำมาก จำนวนรอบยังมีผลต่อปริมาณสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นด้วย จำนวนรอบน้อย สนามแม่เหล็กเกิดน้อย จำนวนรอบมาก สนามแม่เหล็กเกิดมาก

3.ขดลวด(Coil)...วัสดุที่ใช้ทำขดลวดหม้อแปลงโดยทั่วไปทำมาจากสายทองแดงเคลือบน้ำยาฉนวน มีขนาดและลักษณะลวดเป็นทรงกลม หรือแบนขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ลวดเส้นโตจะมีความสามารถในการจ่ายกระแสได้มากกว่าลวดเส้นเล็กหม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้ลวดถักแบบตีเกลียว เพื่อเพิ่มพื้นที่สายตัวนำให้มีทางเดินของกระแสไฟมากขึ้น สายตัวนำที่ใช้ พันขดลวดบนแกนเหล็กทั้งขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอาจมีแทปแยก (Tap) เพื่อแบ่งขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (ในหม้อแปลงขนาดใหญ่จะใช้การเปลี่ยนแทปด้วยสวิตช์อัตโนมัติ)

4.เส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Flux)...ด้วยนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว เส้นแรงแม่เหล็กไม่ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ แต่เป็น
เวกเตอร์เสมือน เท่านั้น แม้ว่าภาพต่างๆ มักจะแสดงเส้นแรงแม่เหล็กด้วยลูกศร แต่เราไม่สามารถแปลความหมายลูกศรนั้นเป็นการเคลื่อนที่หรือการไหลของเส้นสนาม

5.สนามแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Field)...จะหมายถึงเส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

6.เฟอร์โรแมกเนติก(Ferromagnetic)...

7.โช้ค(Choke)...ช่วยในเรื่องการทรงตัวเป็นหลักครับ ช่วยในเรื่องความแข็งแรง(ประโยชน์มากเวลาจั๊ม) เปลี่ยนไซร์ยางเป็นขนาดดังกล่าวผลคือ มีความสะเทือนเพิ่มขึ้นครับ เข็มวัดความเร็วอ่อน

8.แกนอากาศ(Air Core)...นอกจากนี้ยังใช้ขดลวดแกนอากาศกับงานในระบบที่ใช้ความถี่สูงโดยไม่ต้องการให้เส้นแรง แม่เหล็กมีการอิ่มตัวหรือการ สูญเสียเกิดขึ้นที่แกนเหล็ก

9.แกนเฟอร์ไรด์(Ferrite Core)...แกนเฟอร์ไรท์เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของแม่เหล็กทำให้มีความเข้ม สนามแม่เหล็กมากกว่าเหล็กและมีความต้านทานสูง จึงช่วยลดการสูญเสียบนแกนเหล็ก หรือลดความร้อนจากการเกิดกระแสไหลวนที่ความถี่สูง

10.แกนผงเหล็กอัด(Powdered -Iron Core)...ตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัด เป็นตัวเหนี่ยวนำที่แกนหรือฐานรองรับเส้นลวดทำด้วยผงเหล็กชนิดอัดแน่น โดยนำผงเหล็กผสมกับกาวอัดแน่นเป็นแท่ง ช่วยลดการสูญเสียสัญญาณจากกระแสไหลวน (Eddy Current) ลงได้ สัญญาณส่งผ่านตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัดได้สูงขึ้น เกิดการสูญเสียสัญญาณภายในตัวเหนี่ยวนำลดลง ใช้งานได้ดีในย่านความถี่สูงๆ มีความเหนี่ยวนำสูงแต่มีขนาดเล็ก ลักษณะตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัด

11.แกนทอรอยด์(Toroidal Core)...แกนทอลอยด์มีลักษณะคล้ายวงแหวนทำมาจากโลหะผสมสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอน หม้อแปลงแกนทอลอยด์มีประสิทธิภาพ สูง (95 %) เพราะแกนทอลอยด์มีสภาพความนำแม่เหล็กสูง อีกทั้งยังไม่มีช่องรอยต่อเหมือนแกนเหล็กแบบ Core และแบบ Shell จึงช่วยลดการเกิดเสียงรบกวนได้ในขณะทำงาน

12.แกนเหล็กแผ่น(Laminated - Iron Core)... แผ่นเหล็กที่ใช้ทำหม้อแปลงจะมีส่วนผสมของสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอนเพื่อรักษาความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น รอบขดลวดไว้ แผ่นเหล็กแต่ละชั้นเป็นแผ่นเหล็กบางเรียงต่อกัน หลายชิ้นทำให้มีความต้านทานสูงและช่วยลดการสูญเสีย บนแกนเหล็กที่ส่งผลให้เกิดความร้อนหรือที่เรียกว่า กระแสไหลวนบนแกนเหล็กโดยทำแผ่นเหล็กให้เป็นแผ่นบางหลาย แผ่นเรียงซ้อนประกอบขึ้น เป็นแกนเหล็กของหม้อแปลง ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบเช่น แผ่นเหล็กแบบ Core และแบบ Shell

13.กระแสไหลวน(Eddy Current)...ส่วนใหญ่กระแสที่เราเหนี่ยวนำขึ้นมา มักจะอธิบายกันที่ขดลวดตัวนำวงกลม แต่ที่จริงแล้วกระแสเหนี่ยวนำสามารถสร้างขึ้นในแผ่นตัวนำได้เลย โดยใช้หลักของฟาราเดย์ที่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนฟลักซ์ของสนามแม่เหล็ก ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น และมักจะเกิดกับโลหะหรือตัวนำไฟฟ้าได้ดี เหตุผลก็เป็นเพราะความต้านทานของตัวนำค่อนข้างต่ำ ดังนั้นสามารถสร้างกระแสเหนี่ยวนำขึ้นได้ง่าย

14.ตัวกรองไฟ(Filter)...มันอยู่อยู่ 3 จำพวก คือเครื่องคุมไฟ สำหรับทำให้กระแสไฟฟ้านิ่ง คงที่ ไม่วูบวาบ เครื่องกรองไฟ สำหรับทำให้กระแสไฟฟ้าสะอาดขึ้น กรองสัญญาณรบกวนออกไป ส่วน ups เข้าใจว่าเป็นเครื่องสำรองไฟ คือเผื่อฉุกเฉินเวลาไฟดับอ่ะคับ ส่วนมากก็ใช้กับคอมพิวเตอร์ จะได้ปิดเครื่องได้ทัน

15.ทางเข้า(Input)...

16.ทางออก(Output)...

17.ปฐมภูมิ(Primary)...รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า

18.ทุติยภูมิ(Secondary)...แรงเคลื่อนไฟฟ้า

19.แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ(Induce Electro Motive Force)...ปลายทั้งสองข้างของเส้นลวดตัวนำทำหน้าที่เสมือนเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเกิดเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า

20.หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)...เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนระดับแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามต้องการ ภายในประกอบด้วยขดลวด 2 ชุดคือ ขดลวดปฐมภูมิ ( Primary winding) และ ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) แต่สำหรับหม้อแปลงกำลัง ( Power Transformer) ขนาดใหญ่บางตัวอาจมีขดลวดที่สามเพิ่มขึ้นคือขด Tertiary winding ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขด Primary และ Secondary และแรงดันที่แปลงออกมาจะมีค่าต่ำกว่าขด Secondary

21.หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน(Step Up Tranformer)... หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เพิ่มแรงดันไฟสลับที่ด้านส่งออกเอาต์พุต หรือขดทุติยภูมิมีค่าแรงดันมากกว่าค่าแรงดันที่ป้อนเข้ามา รูปแบบการพันขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ จำนวนรอบของขดลวดทางขดปฐมภูมิน้อยกว่าจำนวนรอบของขดลวดทางขดทุติยภูมิ ลักษณะหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเพิ่มแรงดัน 22.หม้อแปลงลดแรงดัน(Step Down Tranformer)...หม้อแปลงลดแรงดัน เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำหนัาที่ลดแรงดันไฟสลับที่ส่งออกทางขดลวดทุติยภูมิ มีค่าแรงดันน้อยกว่าค่าแรงดันท่ป้อนเข้ามา รูปแบบการพันขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ จำนวนรอบของขดลวดทางขดปฐมภูมิมากกว่าจำนวนรอบของขดลวดทางขดทุติภูมิลักษณะหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดลดแรงดัน

23.หม้อแปลงกำลัง(Power Tranformer)...หม้อแปลงกำลัง เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีลักษณะการพันขดลวดแบบหลายขดลวดรวมกันอยู่ในหม้อแปลงทางขดทุติภูมิ มีทั้งขดเพิ่มแรงดันและขดลดแรงดัน ลักษณะหม้อแปลงกำลัง

24.หม้อแปลงออโต้(Auto Tranformer)...หม้อแปลงออโต เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีลักษณะการพันขดลวดทุกขดอยู่บนแกนเดียวกัน มีขดลวดพันออกมาใช้งานเพียวขดเดียว แยกชุดจ่ายแรงดันออกมาตามค่าที่ต้องการเป็นจุดๆ มีจุดต่อร่วมจุดเดียวกัน จุดใดเป็นจุดจ่ายแรงดันเข้าเรียกว่าขดปฐมภูมิ จุดใดเป็นจุดจ่ายแรงดันออกเรียกว่า ขดทุติภูมิ

25.หม้อแปลงทอรอยด์(Toroidal Tranformer)...หม้อแปลงทอรอยต์ เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าแกนเหล็กแผ่นบางเคลือบฉนวนวางซ้อนกันในรูปวงแหวน การพันขดลวดสามารถพันให้เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าลักษณะต่างๆ ได้ เช่น ชนิดลดแรงดัน ชนิดเพิ่มแรงดัน ชนิดกำลัง และชนิดออโต เป็นต้น ข้อดีของหม้อแปลงแบบนี้ คือ มีขนาดเล็กกะทัดรัดที่ให้ค่าความเหนี่ยวนำสูง มีการสูญเสียกำลังต่ำ นิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย ลักษณะหม้อแปลงทอรอยต์

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

.....ไฟฟ้า คืออะไร.....
ไฟฟ้า ความร้อน และแสงสว่าง คือพลังงาน (energy) ในรูปแบบต่างๆกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องการพลังงานทั้งสิ้น พลังงาน สามารถกักเก็บ และปลดปล่อยออกมา เพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆกัน ในโรงไฟฟ้า เชื้อเพลิง(fuel) จะถูกเผาไหม้ เพื่อปล่อยพลังงานออกมา และนำไปผลิต เป็นกระแสไฟฟ้า พลังงานสามารถเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได ้ เมื่อเราเปิดสวิตซ์ไฟกระแสไฟฟ้าจะวิ่งมาที่หลอดทำให้เกิดแสงสว่าง นั่นคือ พลังงานสามารถแปรสภาพไปเป็นความร้อน และแสงสว่างได้
.....แหล่งกำเนิดไฟฟ้าแหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีหลายชนิด ดังนี้

3.1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของวัตถุ ุ
........ การนำวัตถุ 2 ชนิดมาเสียดสีกันจะเกิดไฟฟ้า เรียกว่า ไฟฟ้าสถิต......... ผู้ค้นพบไฟฟ้าสถิตครั้งแรก คือ นักปราชญ์กรีกโบราณ ท่านหนึ่งชื่อเทลิส(Philosopher Thales) แต่ยังไม่ทราบ อะไรเกี่ยวกับไฟฟ้ามากนัก..จนถึงสมัยเซอร์วิลเลี่ยมกิลเบอร์ค (Sir William Gilbert)ได้ทดลองนำเอาแท่งอำพันถูกับ ผ้าขนสัตว์ปรากฏว่าแท่งอำพันและผ้าขนสัตว์สามารถดูด ผงเล็ก ๆ ได้ปรากฏการณ์นี้คือการเกิดไฟฟ้าสถิตบน วัตถุทั้งสอง

3.2 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานทางเคมี แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานทางเคมีเป็นไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (Direct Current) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

1) เซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell)......เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ให้กระแสไฟฟ้าตรง ผู้ที่คิดค้นได้คนแรกคือ เคานต์อาเลสซันโดรยูเซปเปอันโตนีโออานัสตาซีโอวอลตา นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี โดยใช้แผ่นสังกะสี และแผ่นทองแดงจุ่มลงในสารละลายของกรดกำมะถันอย่างเจือจาง มีแผ่นทองแดงเป็นขั้วบวกแผ่นสังกะสีเป็นขั้วลบ เรียกว่า เซลล์วอลเทอิก ...เมื่อต่อเซลล์กับวงจรภายนอก ก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากแผ่นทองแดงไปยังแผ่นสังกะสี....... ขณะที่เซลล์วอลเทอิกจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟแผ่นสังกะสี จะค่อย ๆ กร่อนไปทีละน้อยซึ่งจะเป็นผลทำให้กำลังในการจ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงด้วย และเมื่อใช้ไปจนกระทั่งแผ่นสังกะสีกร่อนมากก็ต้องเปลี่ยนสังกะสีใหม่ จึงจะทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ต่อไปเท่าเดิม .ข้อเสียของเซลล์แบบนี้คือ ผู้ใช้จะต้องคอยเปลี่ยนแผ่นสังกะสีทุกครั้งที่เซลล์จ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงแต่อย่างไรก็ตามเซลล์วอลเทอิกนี้ ..ถือว่าเป็นต้นแบบของการประดิษฐ์เซลล์แห้ง (Dry Cell) หรือถ่านไฟฉายในปัจจุบัน ทั้งเซลล์เปียกและเซลล์แห้งนี้เรียกว่า เซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell) ข้อดีของเซลล์ปฐมภูมินี้ คือเมื่อสร้างเสร็จสามารถนำไปใช้ได้ทันที

2) เซลล์ทุติยภูมิ (Secondary Cell) เป็นเซลล์ไฟฟ้าสร้างขึ้นแล้วต้องนำไปประจุไฟเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ และเมื่อใช้ไฟหมดแล้วก็สามารถนำไปประจุไฟใช้ได้อีก โดยไม่ต้องเปลี่ยนส่วนประกอบภายใน และเพื่อให้มีกระแสไฟฟ้ามากจะต้องใช้เซลล ์หลายแผ่นต่อกันแบบขนานแต่ถ้าต้องการให้แรงดันกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นก็ต้องใช้เซลล์หลาย ๆแผ่น.แบบอนุกรม เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สตอเรจเซลล์ หรือ สตอเรจแบตเตอรี่(Storage Battery)

3.3 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า........กระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานแม่เหล็กโดยวิธีการใช้ลวดตัวนำไฟฟ้าตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการนำสนามแม่เหล็กวิ่งตัดผ่านลวดตัวนำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งสองวิธีนี้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำนั้น กระแสที่ผลิตได้มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ

1) เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง..... หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง อาศัยหลักการที่ตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก จะเกิดแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้าขึ้นในลวดตัวนำนั้น
2) เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ..... .มีโครงสร้างเหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง แต่ที่อาร์มาเจอร์ มีวงแหวนแทนคอมมิวเตเตอร์ (Commutature) หลักการทำงานของ การเกิดมีขั้นตอนโครงสร้าง 9 ขั้นตอน

3.4 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแสง........ เกิดจากการที่แสงผ่านกระแสไฟฟ้า จากพลังงานสารกึ่งตัวนำ เพราะว่าเมื่อสารกึ่งตัวนำได้รับแสง อิเล็กตรอนภายในสารหลุดออกมา และเคลื่อนที่ได้ แหล่งกำเนิดไฟฟ้านี้ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเรียกว่า โฟโตเซลล์ (Photo Cell) ใช้ในเครื่องวัดแสงของกล้องถ่ายรูป การปิดเปิดประตูลิฟต์และระบบนิรภัย เป็นต้น

3.5 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานความร้อน .....กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นจากพลังงานความร้อนโดยการนำโลหะ 2 ชนิดมายึดติดกันแล้วให้ความร้อนจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในแท่งโลหะทั้งสอง เช่น ใช้ทองคำขาวกับคอนสแตนตันยึดปลายข้างหนึ่งให้ติดกัน ...และปลายอีกด้านหนึ่งของโลหะทั้งสองต่อเข้ากับเครื่องวัดไฟฟ้า กัลวานอร์มิเตอร์ เมื่อใช้ความร้อนเผาปลายของโลหะที่ยึดติดกันนั้น พลังงานความร้อนจะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องวัดไฟฟ้า

3.6 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากแรงกด ........กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากแรงกด สารที่ถูกแรงกด หรือดึง จะเกิดกระแสไฟฟ้าผลึก ของควอตซ์ ทัวร์มาไลท์และเกลือโรเซลล์ เมื่อนำเอาผลึกดังกล่าวมาวางไว้ระหว่างโลหะทั้งสองแผ่นแล้วออกแรงกด สารนี้จะมีไฟฟ้าออกมา ที่ปลายโลหะทั้งสอง พลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ต่ำมาก นำไปใช้ทำไมโครโฟน หูฟัง โทรศัพท์ หัวปิคอัพของเครื่องเล่นจานเสียง เป็นต้น

.....ประเภทของไฟฟ้าไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จากแหล่งกำเนิดหลายๆ แบบ ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆได้ดังนี้
1. ไฟฟ้าสถิต ( Static Electricity )
2. ไฟฟ้ากระแส ( Current Electricity )

3.8.1 ไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิต คือ ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีเมื่อเอาวัตถุบางอย่างมาถูกันจะทำให้เกิดพลังงานขึ้น ซึ่งพลังงานนี้สามารถ ดูดเศษกระดาษหรือฟางข้าวเบาๆได้ เช่น เอาแท่งยางแข็งถูกับผ้าสักหลาด หรือครั่งถูกับผ้าขนสัตว์ พลังงานที่เกิดขึ้น เหล่านี้เรียกว่า ประจุไฟฟ้าสถิต เมื่อเกิดประจุไฟฟ้าแล้ว วัตถุที่เกิดประจุไฟฟ้านั้นจะเก็บประจุไว้ แต่ในที่สุดประจุไฟฟ้า จะถ่ายเทไปจนหมด วัตถุที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้นั้นจะคายประจุอย่างรวดเร็วเมื่อต่อลงดิน ในวันที่มีอากาศแห้งจะทำให้เกิด ประจุไฟฟ้าได้มาก ซึ่งทำให้สามารถดูดวัตถุจากระยะทางไกลๆได้ดี ประจุไฟฟ้าที่เกิดมีอยู่ 2 ชนิด คือ ประจุบวกและ ประจุลบ คุณสมบัติของประจุไฟฟ้า คือ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกันประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะดูดกัน

.8.2 ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้ากระแสคือ การไหลของอิเล็กตรอนภายใน ตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเช่น ไหลจาก แหล่งกำเนิดไฟฟ้าไปสู่แหล่ง ที่ต้องการใช้กระ แสไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิด แสงสว่าง เมื่อกระแส ไฟฟ้าไหลผ่านลวด ความต้านทานสูงจะก่อให้ เกิดความร้อน เราใช้หลักการเกิดความร้อน เช่นนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เตาหุงต้ม เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น

ไฟฟ้ากระแสแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D .C )
- ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current หรือ A.C. )

3.9 ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D .C )เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิดกล่าวคือกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวก ภายในแหล่งกำเนิด ผ่านจากขั้วบวกจะไหลผ่านตัวต้านหรือโหลดผ่านตัวนำไฟฟ้าแล้ว ย้อนกลับเข้าแหล่งกำเนิดที่ขั้วลบ วนเวียนเป็นทางเดียวเช่นนี้ตลอดเวลา การไหลของไฟฟ้ากระแสตรงเช่นนี้ แหล่งกำเนิดที่เรารู้จักกันดีคือ ถ่าน-ไฟฉาย ไดนาโม ดีซี เยนเนอเรเตอร์ เป็นต้น

ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.1 ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทสม่ำเสมอ (Steady D.C) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง อันแท้จริง คือ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ที่ไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดไปไฟฟ้ากระแสตรงประเภทนี้ได้มาจากแบตเตอรี่หรือ ถ่านไฟฉาย
1.2 ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทไม่สม่ำเสมอ ( Pulsating D.C) เป็นไฟฟ้ากระแสตรงที่เป็นช่วงคลื่นไม่สม่ำเสมอ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดนี้ได้มาจากเครื่องไดนาโมหรือ วงจรเรียงกระแส (เรคติไฟ )

3.10 ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current หรือ A.C. ) เป็นไฟฟ้าที่มีการไหลกลับไป กลับมา ทั้งขนาดของกระแสและแรงดันไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คือ กระแสจะไหลไปทางหนึ่งก่อน ต่อมาก็จะไหลสวนกลับแล้ว ก็เริ่มไหลเหมือนครั้งแรก.....

ประโยชน์ของไฟฟ้าประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง
(1) ใช้ในการชุบโลหะต่างๆ
(2) ใช้ในการทดลองทางเคมี
(3) ใช้เชื่อมโลหะและตัดแผ่นเหล็ก
(4) ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก
(5) ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่
(6) ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
(7) ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย

ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสสลับ
(1) ใช้กับระบบแสงสว่างได้ดี
(2) ประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตได้ง่าย
(3) ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังมากๆ
(4) ใช้กับเครื่องเชื่อม
(5) ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เกือบทุกชนิด

..... อันตรายจากไฟฟ้า.....
พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ อันตรายที่คนทั่วไปได้ยินได้ฟังมี 2 สาเหตุใหญ่ คือ ไฟฟ้าซอร์ท และไฟฟ้าดูด ทั้งสองกรณี มีสาเหตุการเกิดที่ ต่างกัน และอันตรายที่ได้รับก็แตกต่างกัน
1. ไฟฟ้าชอร์ท(Short Circuit) เมื่อมีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิฐานว่ามีเหตุ มาจากไฟฟ้าลัดวงจร ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ ไฟฟ้า (LOAD)การลัดวงจรของไฟฟ้ามีมากมายหลายสาเหตุ สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ได้มาตรฐาน ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย คือ
1.1 ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูงใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดทำให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
1.2 มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชำรุด ลวดตัวนำ ภายในสายสัมผัสกันเองจนเกิดการลุกไหม้
1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อันตรายต่อผู้สัญจรยิ่งสูงตามไปด้วย

ลักษณะการลัดวงจร
ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้ทั้งในระบบไฟฟ้าแรงสูงและระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ลักษณะการเกิดและความเสียหาย ก็จะมีความแตกต่างกัน คือ
1. กระแสไฟฟ้าไหลระหว่างสายไฟ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก ฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด หรือ จากการสัมผัสกัน โดยบังเอิญ ผลจากการการเดินลัดวงจร จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ ระหว่างลัดวงจรจะก่อให้เกิดประกายไฟขึ้นด้วย
2. กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน หรือเรียกว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน อาจเกิดจากการที่สายไฟฟ้าขาด หรือหลุด จากจุดต่อไปสัมผัสกับพื้นดินหรือโลหะที่ต่อฝังอยู่บนพื้นดิน ลักษณะดังกล่าวนี้จะทำ ให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน

ผลของไฟฟ้าชอร์ต
ในกรณีที่กระแสไหลในสายไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสูง จะทำให้ความร้อนเกิดขึ้นใน สายตัวนำ หลายครั้ง จะทำให้เกิดการหลอมละลายของฉนวนไฟฟ้าและส่งผลให้สายตัวนำไฟฟ้าสัมผัส กันเกิดเป็นประกายไฟฟ้า และทำให้ฉนวน ที่หลอมละลายลุกไหม้ขึ้นมา ส่วนสายตัวนำที่สัมผัสหรือลัดวงจรกันนั้นก็จะเกิดการสะบัดตัว กระจายเปลวไฟที่กำลังลุก ไหม้ขยายวงออกไป หากมีวัสดุติดไฟอยู่ในบริเวณนั้นก็เสริมให้การลุกไหม้รุนแรงในกรณีหากเกิดขึ้นในบริเวณ ของโรงพยาบาล ที่เป็นโซนก๊าซติดไฟ อาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ แนวทางการป้องกัน คือ จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร โดยการ ดูแลเครื่องใช้และ อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้านั้นต้องมีการตรวจสอบสม่ำเสมอ หากตรวจสอบความร้อนขณะที่มีการใช้กระแสไฟเต็มที่ยิ่งเป็นการดี หากปรากฏการไหลของกระแสเกินพิกัดต้องหาสาเหตุ หากมีเหตุจากการมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ติดตั้งใช้งานมาก ต้องเปลี่ยนสายไฟฟ้าให้มีพิกัดกระแสที่ถูกต้องสายไฟฟ้าที่ใช้งานนาน ความร้อนจากสภาพแวดล้อมก็ทำให้ สายแตกปริ หลุดร่อนออกได้แนวโน้มที่จะเกิดประกายไฟตรงบริเวณที่ฉนวนหลุดร่อนย่อมมีสูงในระบบไฟฟ้าแรงสูง เมื่อสาย ไฟฟ้าขาดลงสู่พื้นดิน ระบบป้องกันไม่ตัดวงจร อาจก่ออันตรายให้กับผู้ที่สัญจรไปมาได้

แนวทางป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในอาคาร
(1) เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์) เมื่อฟิวส์ขาดต้อง ใช้ขนาดเดิมไม่ควรใช้ ขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือดัดแปลงใช้วัสดุตัวนำอื่นมาทดแทน
(2) ตรวจสอบสายไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเพื่อพบว่าชำรุดควรรีบซ่อมบำรุง โดยเฉพาะไฟฟ้า ที่ฉนวนชำรุด
(3) ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเช่น ในแผงสวิตซ์และไฟต่างๆเพราะอาจมีตัวแมลง เข้าไปทำรัง หรือมีฝุ่นละอองเกาะ
(4) เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพอาจดูได้จากเครื่องหมายรับประกันคุณภาพรับรองคุณภาพ ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(ม.อ.ก.)
(5) ใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ

2. ไฟฟ้าดูด(Electric Shock) เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทำให้เสียชีวิต หรือพิการไฟฟ้าดูดในบางกรณี เป็นการดูดที่ผู้ประสบเหตุไม่ได้สัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ เช่นจับตัว ผู้สัมผัสไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใต้แนวไฟฟ้า แรงสูงก็เคยมีกรณีให้เป็นตัวอย่างมาแล้ว ปกติพื้นดินเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีแรงดันทางไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้น เมื่อเราสัมผัส ส่วนใดใดที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบวงจร เราจึงถูกไฟฟ้าดูด การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัส สามารถแยกแยะตามลักษณะของการสัมผัสได้เป็น 2 แบบคือ
2.1 การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับหรือจากการที่เด็กเอาโลหะหรือตะปูแหย่ เข้าไปในปลั๊ก(เต้ารับไฟฟ้า)
2.2 การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด

ผลของไฟฟ้าดูดต่อร่างกายมนุษย์
อันตรายจากไฟฟ้าดูด มีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันไปตามขนาดกระแสไฟฟ้าและสุขภาพร่าง กายของบุคคล ตามที่ ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์โดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าที่ได้แตกต่างกันออกไปตามมาตรฐาน จากการทดสอบตัวอย่างผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์เป็นค่าที่ไม่จำกัดเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย (ไม่ได้ใช้เวลาเป็นตัวแปรในการทดลอง) เป็นไปตามตารางที่ 1 กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้สูง หากร่างกายมีความต้านทานต่ำ ร่างกายที่เปียกชื้นจะมีความต้านทานต่ำ เมื่อไฟฟ้าดูดจึงมีอันตรายสูง ดังนั้นขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จึงไม่ควรสัมผัสกับตัว อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นการดี และเป็นข้อห้าม ปฏิบัติทางไฟฟ้าด้วย

ปัจจัยความรุนแรงของไฟฟ้าดูด
เมื่อบุคคลถูกไฟฟ้าดูด กระไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย เป็นปัจจัยหนึ่งของอันตราย เท่านั้นความจริงแล้วตัวแปรที่สำคัญ ที่มีผลต่อความรุนแรง มี 3 อย่าง คือ
1. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ถ้าปริมาณกระแสที่ไหลผ่านร่างกายสูง อันตรายก็จะสูงตามไปด้วย ไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีปริมาณสูงด้วยและจะมีอันตรายมากกว่าแรงดันต่ำ
2. ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
3. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย

ไฟฟ้าดูดป้องกันได้
หลักพื้นฐานของการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด คือการไม่ไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า สำหรับผู้ที่มีความรู้ทางไฟฟ้า ก็จะมีต้องมีวิธีการ และใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเรามีความจำเป็นต้องสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องมีวิธีการป้องกันไม่ให้ไปสัมผัส ขณะที่เปลือกของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟอยู่ การป้องกันที่ดี คือ การมีระบบสายดิน หรือเรียก ว่าการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน แต่ที่สำคัญคือการต่อลงดินต้องทำอย่างถูกต้องโดยผู้ที่มีความรู้จริงเท่านั้นจึงจะได้ผล เครื่องใช้ ไฟฟ้าที่มีการต่อลงดินไว้แล้ว เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วเครื่องป้องกันกระแสเกิน(ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์)จะทำงาน ตัดเครื่องใช้ ไฟฟ้า ออกจากวงจร ที่โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่มีไฟฟ้า การใช้เครื่องตัดไฟรั่ว จะสามารถป้องกันอันตราย จากไฟฟ้าดูดได้เช่นกัน แต่ในการใช้งานต้องมั่นใจว่าเครื่องตัดไฟรั่วทำงานเป็นปกติตามที่ได้ออกแบบไว้ เนื่องจาก เครื่องตัดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นเดียวกันย่อมต้องมีการขัดข้องชำรุดเกิดขึ้นได้เช่นกัน จึงต้องมีการตรวจสอบ และทดสอบตามระยะเวลา หรือตามข้อกำหนดที่ผู้ผลิตระบุ เครื่องตัดไฟรั่วจึงเป็นเพียงอุปกรณ์เสริม เท่านั้น ในการติดตั้ง ใช้งาน จึงต้องติดตั้งระบบสายดินให้กับตัวมันด้วย ไฟฟ้าแรงสูง เมื่อเข้าใกล้ก็อาจเกิดอันตรายได้ โดยที่ยังไม่ต้องสัมผัส ผู้ที่ต้องทำงาน กับไฟฟ้าแรงสูง

.....หลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ามีด้วยกัน 3 หลักการใหญ่ๆ คือ
1. การป้องกันจากการถูกหรือสัมผัสโดยตรง เป็นการป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าผ่านส่วนหนึ่งส่วนใดไม่ว่าจะเป็นการไหลผ่านลงดินหรือไหลครบวงจร โดยมีร่างกายของคนต่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าหรือลดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านให้ต่ำกว่าปริมาณที่เป็นอันตราย

หลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าจากการสัมผัสโดยตรง
1. หุ้มฉนวนส่วนที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
2. มีส่วนที่กั้นหรือใส่อยู่ในตู้หรือส่วนที่เป็นฝาครอบ
3. มีสิ่งกีดขวางหรือทำรั้วกั้น
4. อยู่ในระยะที่เอื้อมไม่ถึง
5. ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
6. มีอุปกรณ์เสริมสำหรับตัดกระแสไฟฟ้าที่เกิดการรั่วไหล

2. การป้องกันจากการถูกหรือสัมผัสโดยอ้อม เป็นลักษณะการ ป้องกันมิให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือลักษณะการตัดวงจรโดยอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านร่างกาย หรือ การป้องกันมิให้มีการใช้กระแสหรือแรงดันเกินขนาดหรือเกินกำลัง ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะมีอันตรายมากกว่า เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะขาดความระมัดระวังและการป้องกัน เพราะปกติผู้ปฏิบัติงานจะไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือตัวนำขณะปฏิบัติงาน

หลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าจากการสัมผัสโดยอ้อม
1. การต่อสายไฟฟ้าของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ลงดิน
2. ติดตั้งเครื่องปลดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
3. ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้มสองชั้น
4. ใช้แรงดันไฟฟ้าระดับต่ำพิเศษ
5. ใช้เครื่องตัดไฟรั่วหรืออุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว

3. กำหนดมาตรการป้องกัน และควบคุมทางกฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบการทำงาน
การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
1)ใช้เครื่องป้องกันวงจรไฟฟ้าที่ถูกต้องและเหมาะสม
2)ป้องกันอย่าให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
3)ไม่เดินสายหรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้แหล่งกำเนิดความร้อน
4)ต่อสายให้แน่นสนิท
5)ใช้ผู้ชำนาญการในการติดตั้งอุปกรณ์ เดินสายไฟ
6)เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน
7)ไม่มีเชื้อเพลิงใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
8)ตรวจสอบเป็นประจำ
9)เมื่อพบอาการผิดปกติต้องรีบแก้ไข และหาสาเหตุ

.....ตัวนำและฉนวนไฟฟ้าตัวนำไฟฟ้า ตัวนำ (Conductor) คือ สสาร วัตถุ วัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่สามารถยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย หรือวัตถุที่มีความต้านทานต่ำ ได้แก่ ทองแดง อลูมิเนียม ทอง และเงิน ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด แต่ในสายไฟทั่วไปจะใช้ทองแดงเป็นตัวนำ เพราะตัวนำที่ทำจากจะเงินมีราคาแพง

ฉนวนไฟฟ้า ฉนวน (Insulator) คือ สสาร วัตถุ วัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่ไม่สามารถยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปได้ หรือ ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่ให้ผ่านไปได้ ได้แก่ ไม้แห้ง พลาสติก, ยาง, แก้ว และกระดาษแห้ง เป็นต้น

ฉนวนไฟฟ้าทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า สายไฟจะหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนที่ต้องสัมผัสกับร่างกายจะเป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ไขควง เตารีด ส่วนที่เป็นมือจับจะเป็นฉนวนไฟฟ้าจำพวกพลาสติก

สายไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านทั่วไปจะใช้ทองแดงมาเป็นตัวนำแทนเงินซึ่งมีราคาแพง ส่วนสายไฟฟ้าแรงสูงซึ่งมีขนาดใหญ่จะใช้อลูมิเนียม เพราะ มีน้ำหนักเบากว่าทองแดง

ไฟฟ้าแรงสูง สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือหากมีฉนวนหุ้ม ก็จะหุ้มบางๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือแตะต้อง การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนา มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (Shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีสายมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้

ข้อควรระวังในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง
1. ห้ามทำนั่งร้านค้ำหรือคร่อมใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่มีฉนวนปิดคลุมขณะที่ทำการก่อสร้าง หรือติดตั้งป้ายโฆษณา
2. ห้ามทำงานใกล้สายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงในขณะที่มีฝนตก ฟ้าคะนอง
3. ห้ามฉีดพ่น เท หรือราดน้ำใด ๆ ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ดังนี้
- การรดน้ำต้นไม้
- การฉีดน้ำด้วยสายยาง -
การต่อท่อน้ำทิ้งที่ไหลออกจากระเบียงหรือกันสาด ทำให้ลำน้ำเข้าใกล้หรือกระทบเสาไฟ
- ละอองน้ำจากเครื่องหล่อเย็น ( Cooling Tower ) ที่ใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศหรือระบายความร้อนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ละอองน้ำมักจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ทำให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วที่ฉนวนไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ในบางกรณีอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดได้ด้วย
4. ห้ามสอยสิ่งใด ๆ ทุกชนิดที่ติดอยู่ที่สายไฟฟ้าแรงสูง เช่น ว่าว สายป่าน ลูกโปร่งสวรรค์ เป็นต้น
5. ห้ามจุดไฟเผาขยะหรือหญ้ารวมทั้งการทำอาหารทุกชนิด เช่น การปิ้ง ย่าง ผัด หรือทอดที่ทำให้ความร้อนและควันไฟรม หรือพ่นใส่สายไฟฟ้าหรือฉนวนไฟฟ้าแรงสูง เพราะจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ทำให้มีไฟฟ้ารั่วและเกิดลัดวงจร จนไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง และในบางกรณีอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดด้วย
6. ห้ามจับดึง หรือแกว่งลวดสลิงเหล็กที่ใช้ยึดโยงเสาไฟฟ้าแรงสูงหรือบริเวณโคนเสาไฟฟ้า เพราะอาจจะแกว่งไปกระ ทบสายไฟฟ้าแรงสูง ทำให้มีไฟรั่วลงมา หรือทำให้สายไฟแรงสูงขาดได้
7. ห้ามไต่หรือขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าทุกชนิด ทุกกรณี
8. ห้ามยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือนำวัสดุอื่นใดเข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงมากกว่าระยะที่กำหนด
9. ไม่ควรติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะนอกจากจะทำให้รับสัญญาณได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากมีสัญญาณรบกวนแล้ว ยังเกิดอุบัติเหตุถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดในระหว่างทำการติดตั้งอีกด้วย และในวันข้างหน้าหากเสาอากาศล้มลง มาแตะสายไฟฟ้าแรงสูงด้วยลมพาย ุหรือด้วยเหตุอื่นใด นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านจะชำรุดแล้วบุคคลภายในบ้านอาจได้รับอันตราย และยังทำให้มีไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างอีกด้วย
10. ผู้เป็นเจ้าของป้ายชื่อสถานที่ประกอบการที่ติดตั้งตามอาคารและผู้ดำเนินการติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่บนดาดฟ้าอาคาร หรือริมถนนใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ต้องหมั่นดูแล ตรวจสอบความแข็งแรงของฐานและโครงเหล็กที่ใช้ติดตั้งป้ายโฆษณา
11. การก่อสร้างอาคาร บ้านพักอาศัย และปลูกต้นไม ้ต้องห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงตามระยะที่กำหนด เพื่อป้องกันมิให้สัมผัสกับสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
12. ควรระมัดระวังเครื่องมือกลทุกชนิดที่ใช้งานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ งานปรับปรุงหรือก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าระยะที่กำหนด
13. ควรระมัดระวังผ้าคลุมกันฝุ่นระหว่างทำการก่อสร้าง มิให้ปลิวมาสัมผัสสายไฟฟ้า
14. กิ่งไม้ที่แตะสายไฟฟ้าจะทำให้มีไฟรั่วลงมาตามกิ่งไม้ ทำให้อาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้ารั่วได้ จึงต้องระมัดระวังคอยดูแลตัดแต่งกิ่งไม้ไม่ให้เข้าใกล้สายไฟฟ้าเกินระยะที่กำหนด
15. เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้ที่จะใช้เครื่องมือดับเพลิง ควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือดับเพลิงว่าเป็นชนิดที่ใช้ดับเพลิง ซึ่งเกิดกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหรือไม่ และระยะห่างเท่าใด
16. ควรติดตั้งป้ายหรือสัญญาณเตือนภัยแสดงเขตอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงเสมอ
17. ก่อนที่จะขุดเจาะ หรือตอกปักวัตถุใดๆ เช่น แท่งโลหะลงในดิน จะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูงอยู่ใต้พื้นดินนั้น มิฉะนั้นท่านอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงได้
18. ห้ามยิงนกหรือสัตว์ที่เกาะบนสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะสายจะขาดตกลงมาทำให้ผู้คนและตัวท่านเองได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง 19. หากต้องการให้การไฟฟ้านครหลวงหุ้มสายไฟฟ้าแรงสูงในกรณีที่จำเป็นต้องทำงานใกล้สายไฟฟ้า ท่านสามารถติดต่อได้ที่การไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ